ยูเวนตุส : กับความล้มเหลว!?
อันเดรีย ปีร์โล่ ไม่เคยมีประสบการณ์ในการคุมทีมเลย เขาคือผู้ถูกเลือกให้นั่งแท่นกุนซือยูเวนตุส ฤดูกาล 2020/21
ดีกรีแชมป์ลีก 9 สมัยซ้อน กับการไล่ล่าถ้วยสคูเดตโต้สมัยที่ 10 ติดต่อกัน
รวมถึงถ้วยแชมเปี้ยนส์ลีกที่ร้างลามานาน หนล่าสุดที่ยูเว่คว้าแชมป์หูโต ต้องย้อนไปปี 1995/96 นู่นเลย!! ซึ่งทั้งหมดคือความกดดันอันหนักหน่วง
ทว่าจบฤดูกาล 2020/21 ยูเวนตุสคว้าแชมป์โคปปา อิตาเลีย พร้อมกับเบียดคว้าที่ 4 ในลีก (ตั๋วแชมเปี้ยนส์ลีก) มาแบบเส้นยาแดงผ่าแปด
ซึ่งเอาจริงๆนัดสุดท้ายถ้านาโปลีไม่ตกม้าตาย เสมอเวโรน่า 1-1 ป่านนี้ยูเวนตุสคงได้แค่สิทธิ์ไปเล่นยูโรป้าลีกเท่านั้น
แน่นอนว่าปีร์โล่โดนโจมตีหนัก ถ้าเลือกย้อนกลับไป นี่เท่ากับยูเวนตุสเลือกกุนซือผิดรึเปล่า!?
พวกเขาต้องเลือกคนแบบไหน!? ประสบการณ์ต้องมากมายก่ายกอง!! ต้องไม่เคยล้มเหลว++ ต้องไม่เคยวิกฤตในเส้นทางอาชีพกุนซือ!!
แต่จะว่าไป!!พอนึกย้อน หลายครั้งการแต่งตั้งกุนซือ ณ เวลานั้นๆ ล้วนแฝงมากับความเสี่ยงที่มหาศาล
เป็ป กวาดิโอล่าร์ (ก่อนคุมบาร์เซโลน่า) คุมบาร์เซโล่า เบ ในลีกเตร์เซร่า ฤดูกาล 2007/08 ซึ่งเป็นระดับดิวิชั่น 4 ของสเปน ณ เวลานั้น
ต้องขึ้นมาคุมบาร์เซโลน่าปี 2008/09 แทนแฟร้งค์ ไรจ์การ์ด โดยต้องปะทะกับเรอัล มาดริด ที่มีดีกรีแชมป์เก่า ลาลีก้า 2 สมัยซ้อนในเวลานั้น
ซีเนอดีน ซีดาน (ก่อนคุมเรอัล มาดริด) คุมเรอัล มาดริด กาสตีญ่า (ชุดเบ) ในลีกเซกุนด้า เบ (ดิวิชั่น 3) ช่วงกรฏาคม 2015 ถึงมกราคม 2016
ก่อนมาคุมเรอัล มาดริดทันที ในกลางซีซั่น 2015/16 เดือนเดียวกัน ซึ่งตอนนั้นแรงกดดันของราชันชุดขาว คือพวกเขาไม่ได้แชมป์ลาลีก้ามา 4 สมัยแล้ว
จำเป็นต้องซัดกับบาร์เซโลน่าที่เหิมเกริมสุดๆ มีดีกรีแชมป์เก่าทั้งลีก 2 สมัยและยูซีแอล 2014/15
ฮันส์ ดีเตอร์ ฟลิค (ก่อนคุมบาเยิร์น) คุมฮอฟเฟ่นไฮม์ในลีกล่างๆ ก่อนพาทีมไต่ขึ้นมาสู่ดิวิชั่น 3 แต่จนแล้วจนรอด ก็ไม่สามารถพาฮอฟเฟ่นไฮม์เลื่อนชั้นสู่ดิวิชั่น 2 ได้
ก่อนอำลาฮอฟเฟ่นไฮม์ หลังจากนั้นฟลิคก็รับบทลูกมือ โจวานนี่ ตราปัตโตนี่ที่ซัลซ์บวร์ก ต่อด้วยผู้ช่วยโยอัคคิม เลิฟในทีมชาติเยอรมนี และผู้ช่วยผู้จัดการทีมบาเยิร์นฯในยุคของนิโก้ โควัช
ก่อนที่บาเยิร์นฯในยุคกุนซือ นิโก้ โควัช จะไม่ค่อยมีทรงและผลงานขาดความแน่นอน ทำให้ฮันซี่ ฟลิคซึ่งเดิมคือผู้ช่วยโควัช ต้องขึ้นมาเป็นกุนซือขัดตาทัพบาเยิร์นฯแทน
หรือแม้กระทั่ง ดีเอโก้ ซิเมโอเน่ (ก่อนคุมแอตฯมาดริด) ที่วนเวียนคุมทีมในลีกอาร์เจนติน่า มาคุมคาตาเนีย ในลีกซีเรียอา ช่วงสั้นๆไม่ถึง 5 เดือน
ซึ่งผลงานในการคุมคาตาเนียก็ดีบ้างไม่ดีบ้าง
ถ้าจะลองคิดในทางกลับกัน ไม่ว่าจะทำอะไร จะตัดสินใจอะไรสักอย่าง ล้วนมีความเสี่ยงทั้งนั้น!! ไม่ว่าจะเคสของนักเตะหรือกุนซือ
ดีกรี โปรไฟล์ ความสามารถ เป็นเรื่องที่สำคัญจริง จุดนี้ยังไงก็เถียงไม่ออก!!
แต่ถ้ายึดมากเกินไป มันจะกลายเป็นตึงและจะปิดโอกาสการสอดแทรกขึ้นมาสร้างชื่อของเหล่ากุนซือใหม่ๆหรือเปล่า!? ด้วยเหตุผลที่ว่าไร้ดีกรี ไร้โปรไฟล์
การที่ยูเวนตุสเป็นแชมป์ลีกถึง 9 สมัยซ้อน โดยมาพลาดเพียงแค่ปีเดียว พวกเขาถึงกับล้มเหลวเลยหรือเปล่า!?
อันเดรีย ปีร์โล่ พาทีมคว้าแชมป์ติดมือ แม้จะเป็นโคปปา อิตาเลียก็เถอะ รวมถึงยังพาทีมได้ไปเล่นแชมเปี้ยนส์ลีก แม้จะเป็นวินาทีสุดท้ายก็เถอะ
แต่อย่างน้อยยูเวนตุสยังอยู่ในเส้นทางที่ดี ไม่ได้หลุดเลนซะทีเดียว
อีกอย่างในซีเรียอา ต้องยกเครดิตให้แชมป์อย่างอินเตอร์ มิลาน ที่ปีนี้แกร่งชนิดที่ผู้ไล่ตามยังไล่เหนื่อย
ต้องยกเครดิตให้เอซี มิลานที่รวมทีมอยู่หลายปี จนฝ่าวิกฤต ยกระดับตัวเองขึ้นมาจากหลุมสำเร็จ
ต้องยกเครดิตให้อตาลันต้าในยุคของรวมพลังระบบฝูงหมาป่า
ต้องยกเครดิตให้นาโปลีที่ได้ชื่อว่าแข็งแกร่ง พร้อมสอดแทรกอยู่เสมอๆ แม้กระทั่งตำแหน่งแชมป์
การเปลี่ยนแปลงมันคือเรื่องธรรมดา ซึ่งในประวัติศาสตร์ของฟุตบอลก็มีอยู่มากมาย จนแทบจะชินแล้ว เพียงแต่คราวนี้มันเป็นถึงทีของ “ยูเวนตุส” บ้างก็เท่านั้นเอง
ยูเวนตุส : กับความล้มเหลว!?
ยูเวนตุส : กับความล้มเหลว!?
อันเดรีย ปีร์โล่ ไม่เคยมีประสบการณ์ในการคุมทีมเลย เขาคือผู้ถูกเลือกให้นั่งแท่นกุนซือยูเวนตุส ฤดูกาล 2020/21
ดีกรีแชมป์ลีก 9 สมัยซ้อน กับการไล่ล่าถ้วยสคูเดตโต้สมัยที่ 10 ติดต่อกัน
รวมถึงถ้วยแชมเปี้ยนส์ลีกที่ร้างลามานาน หนล่าสุดที่ยูเว่คว้าแชมป์หูโต ต้องย้อนไปปี 1995/96 นู่นเลย!! ซึ่งทั้งหมดคือความกดดันอันหนักหน่วง
ทว่าจบฤดูกาล 2020/21 ยูเวนตุสคว้าแชมป์โคปปา อิตาเลีย พร้อมกับเบียดคว้าที่ 4 ในลีก (ตั๋วแชมเปี้ยนส์ลีก) มาแบบเส้นยาแดงผ่าแปด
ซึ่งเอาจริงๆนัดสุดท้ายถ้านาโปลีไม่ตกม้าตาย เสมอเวโรน่า 1-1 ป่านนี้ยูเวนตุสคงได้แค่สิทธิ์ไปเล่นยูโรป้าลีกเท่านั้น
แน่นอนว่าปีร์โล่โดนโจมตีหนัก ถ้าเลือกย้อนกลับไป นี่เท่ากับยูเวนตุสเลือกกุนซือผิดรึเปล่า!?
พวกเขาต้องเลือกคนแบบไหน!? ประสบการณ์ต้องมากมายก่ายกอง!! ต้องไม่เคยล้มเหลว++ ต้องไม่เคยวิกฤตในเส้นทางอาชีพกุนซือ!!
แต่จะว่าไป!!พอนึกย้อน หลายครั้งการแต่งตั้งกุนซือ ณ เวลานั้นๆ ล้วนแฝงมากับความเสี่ยงที่มหาศาล
เป็ป กวาดิโอล่าร์ (ก่อนคุมบาร์เซโลน่า) คุมบาร์เซโล่า เบ ในลีกเตร์เซร่า ฤดูกาล 2007/08 ซึ่งเป็นระดับดิวิชั่น 4 ของสเปน ณ เวลานั้น
ต้องขึ้นมาคุมบาร์เซโลน่าปี 2008/09 แทนแฟร้งค์ ไรจ์การ์ด โดยต้องปะทะกับเรอัล มาดริด ที่มีดีกรีแชมป์เก่า ลาลีก้า 2 สมัยซ้อนในเวลานั้น
ซีเนอดีน ซีดาน (ก่อนคุมเรอัล มาดริด) คุมเรอัล มาดริด กาสตีญ่า (ชุดเบ) ในลีกเซกุนด้า เบ (ดิวิชั่น 3) ช่วงกรฏาคม 2015 ถึงมกราคม 2016
ก่อนมาคุมเรอัล มาดริดทันที ในกลางซีซั่น 2015/16 เดือนเดียวกัน ซึ่งตอนนั้นแรงกดดันของราชันชุดขาว คือพวกเขาไม่ได้แชมป์ลาลีก้ามา 4 สมัยแล้ว
จำเป็นต้องซัดกับบาร์เซโลน่าที่เหิมเกริมสุดๆ มีดีกรีแชมป์เก่าทั้งลีก 2 สมัยและยูซีแอล 2014/15
ฮันส์ ดีเตอร์ ฟลิค (ก่อนคุมบาเยิร์น) คุมฮอฟเฟ่นไฮม์ในลีกล่างๆ ก่อนพาทีมไต่ขึ้นมาสู่ดิวิชั่น 3 แต่จนแล้วจนรอด ก็ไม่สามารถพาฮอฟเฟ่นไฮม์เลื่อนชั้นสู่ดิวิชั่น 2 ได้
ก่อนอำลาฮอฟเฟ่นไฮม์ หลังจากนั้นฟลิคก็รับบทลูกมือ โจวานนี่ ตราปัตโตนี่ที่ซัลซ์บวร์ก ต่อด้วยผู้ช่วยโยอัคคิม เลิฟในทีมชาติเยอรมนี และผู้ช่วยผู้จัดการทีมบาเยิร์นฯในยุคของนิโก้ โควัช
ก่อนที่บาเยิร์นฯในยุคกุนซือ นิโก้ โควัช จะไม่ค่อยมีทรงและผลงานขาดความแน่นอน ทำให้ฮันซี่ ฟลิคซึ่งเดิมคือผู้ช่วยโควัช ต้องขึ้นมาเป็นกุนซือขัดตาทัพบาเยิร์นฯแทน
หรือแม้กระทั่ง ดีเอโก้ ซิเมโอเน่ (ก่อนคุมแอตฯมาดริด) ที่วนเวียนคุมทีมในลีกอาร์เจนติน่า มาคุมคาตาเนีย ในลีกซีเรียอา ช่วงสั้นๆไม่ถึง 5 เดือน
ซึ่งผลงานในการคุมคาตาเนียก็ดีบ้างไม่ดีบ้าง
ถ้าจะลองคิดในทางกลับกัน ไม่ว่าจะทำอะไร จะตัดสินใจอะไรสักอย่าง ล้วนมีความเสี่ยงทั้งนั้น!! ไม่ว่าจะเคสของนักเตะหรือกุนซือ
ดีกรี โปรไฟล์ ความสามารถ เป็นเรื่องที่สำคัญจริง จุดนี้ยังไงก็เถียงไม่ออก!!
แต่ถ้ายึดมากเกินไป มันจะกลายเป็นตึงและจะปิดโอกาสการสอดแทรกขึ้นมาสร้างชื่อของเหล่ากุนซือใหม่ๆหรือเปล่า!? ด้วยเหตุผลที่ว่าไร้ดีกรี ไร้โปรไฟล์
การที่ยูเวนตุสเป็นแชมป์ลีกถึง 9 สมัยซ้อน โดยมาพลาดเพียงแค่ปีเดียว พวกเขาถึงกับล้มเหลวเลยหรือเปล่า!?
อันเดรีย ปีร์โล่ พาทีมคว้าแชมป์ติดมือ แม้จะเป็นโคปปา อิตาเลียก็เถอะ รวมถึงยังพาทีมได้ไปเล่นแชมเปี้ยนส์ลีก แม้จะเป็นวินาทีสุดท้ายก็เถอะ
แต่อย่างน้อยยูเวนตุสยังอยู่ในเส้นทางที่ดี ไม่ได้หลุดเลนซะทีเดียว
อีกอย่างในซีเรียอา ต้องยกเครดิตให้แชมป์อย่างอินเตอร์ มิลาน ที่ปีนี้แกร่งชนิดที่ผู้ไล่ตามยังไล่เหนื่อย
ต้องยกเครดิตให้เอซี มิลานที่รวมทีมอยู่หลายปี จนฝ่าวิกฤต ยกระดับตัวเองขึ้นมาจากหลุมสำเร็จ
ต้องยกเครดิตให้อตาลันต้าในยุคของรวมพลังระบบฝูงหมาป่า
ต้องยกเครดิตให้นาโปลีที่ได้ชื่อว่าแข็งแกร่ง พร้อมสอดแทรกอยู่เสมอๆ แม้กระทั่งตำแหน่งแชมป์
การเปลี่ยนแปลงมันคือเรื่องธรรมดา ซึ่งในประวัติศาสตร์ของฟุตบอลก็มีอยู่มากมาย จนแทบจะชินแล้ว เพียงแต่คราวนี้มันเป็นถึงทีของ “ยูเวนตุส” บ้างก็เท่านั้นเอง